17 ข้อ กฎหมายจราจร เพื่อการขับขี่บนท้องถนน
กฎหมายจราจร เป็นสิ่งที่จำเป็นจะต้องรู้และจำให้ได้อย่างขึ้นใจ เพราะไม่มีเราเพียงคนเดียวใช้รถเพื่อสัญจรบนท้องถนน แต่ยังคงมีผู้อื่นที่ใช้รถเพื่อการสัญญาณเหมือนเราเช่นกัน ดังนั้นการรู้และจำข้อกฎหมายจราจรทางบกให้ได้ จึงเป็นเรื่องที่สำคัญเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะกับผู้ที่กำลังจะสอบใบขับขี่และผู้ขับขี่มือใหม่ทั้งหลาย ไม่งั้น คุณสอบไม่ผ่านอย่างแน่นอน
- รถที่สามารถนำมาใช้ในทางเดินรถได้ จะต้องเป็นรถที่จดทะเบียนและเสียภาษีเรียบร้อยแล้วและต้องมีการติดแผ่นป้ายทะเบียนที่ทางราชการกำหนด มีอุปกรณ์ส่วนควบคุมครบถ้วน ตรงกันข้าม รถที่ห้ามนำมาใช้ในทางเดินรถ คือ รถที่ขาดต่อภาษี รถที่ไม่ติดแผ่นป้ายทะเบียนของทางราชการกำหนด รถที่มีสภาพไม่มั่นคงแข็งแรง และรถที่แจ้งเลิกใช้ตลอดไป เป็นต้น
- รถที่สามารถนำมาใช้ในการเดินรถได้ ต้องเป็นรถที่มีเสียงดังไม่เกิน 80 เดซิเบล ห้ามนำรถที่มีเสียงดังกว่าเกณฑ์มาใช้ในการเดินรถ และต้องเป็นรถที่ไม่มีสิ่งลากถูไปบนทางเดินรถหรือรถที่มีล้อไม่ใช่ยางมาใช้ในทางเดินรถ
- ผู้ขับขี่ต้องเปิดไฟหน้าและไฟท้าย ให้รถคันอื่นเห็นในระยะไม่น้อยกว่า 150 เมตร
- ผู้ขับขี่ต้องขับรถในทางเดินรถด้านซ้าย ยกเว้นกรณีที่ทางเดินรถทางด้านซ้ายมีสิ่งกีดขวาง ผู้ขับขี่จึงจะสามารถเดินรถทางขวาหรือล้ำกึ่งกลางของทางเดินรถได้
- ผู้ขับขี่ต้องขับรถให้ห่างจากรถคันหน้าในระยะที่จะสามารถหยุดรถได้โดยปลอดภัยเมื่อมีความจำเป็น (ไม่มีการกำหนดระยะห่างที่ชัดเจน ขึ้นอยู่กับสภาพความหนาแน่นของการจราจร สมรรถนะของรถ และความเร็วในการขับขี่)
- การหยุดรถบริเวณทางแยกผู้ขับขี่ต้องหยุดหลังเส้นแนวหยุดอย่างเคร่งครัด ห้ามล้ำเส้นแนวหยุดรถเป็นอันขาด
- เมื่อถึงทางรถไฟและมีรถไฟกำลังแล่นผ่าน ผู้ขับขี่ต้องหยุดรถให้ห่างจากทางรถไฟไม่น้อยกว่า 5 เมตร อย่าขับรถผ่านไปโดยเร็ว หรือให้เสียงสัญญาณแตรเตือนและขับผ่านไป และไม่จำเป็นต้องเปิดไฟฉุกเฉิน
- ก่อนเลี้ยวรถนั้น ต้องเข้าช่องทางที่จะเลี้ยวและเปิดไฟเลี้ยวก่อนเลี้ยวรถในระยะไม่น้อยกว่า 30 เมตร เพื่อให้ผู้ขับตามหลังมาทราบ
- ในการให้สัญญาณไฟเลี้ยวเพื่อเลี้ยวรถนั้น จะต้องให้สัญญาณโดยให้ผู้ขับรถคันอื่นเห็นได้ในระยะไม่น้อยกว่า 60 เมตร
- ในระยะ 150 เมตร จากทางราบของเชิงสะพาน ผู้ขับขี่รถสามารถกลับรถได้ และจะต้องกลับรถโดยใช้ความระมัดระวังด้วย
- บริเวณทางร่วมทางแยกและมีเครื่องหมายห้ามกลับรถ แต่เจ้าพนักงานจราจรอนุญาตให้กลับรถได้ ผู้ขับขี่ก็สามารถกลับรถได้ เนื่องจากผู้ขับขี่ต้องปฏิบัติตามสัญญาณของเจ้าพนักงาน
- ผู้ขับขี่ที่ต้องการกลับรถ ต้องสังเกตป้ายจราจรที่อนุญาตให้กลับรถและเข้าช่องทางให้ถูกต้อง ห้ามกลับรถขณะเข้าช่องทางที่มีลูกศรบนพื้นถนนให้ตรงไป หรือ กลับรถที่บริเวณเส้นทแยงเหลือง
- บริเวณที่ห้ามแซง ได้แก่ บริเวณทางโค้งรัศมีแคบ ส่วนบริเวณที่ผู้ขับขี่สามารถแซงได้คือ บริเวณทางตรง ทางโล่ง ทางที่ปลอดภัย ทั้งนี้ต้องใช้ความระมัดระวังในขณะที่แซงด้วย
- บริเวณที่กฎหมายจราจรยอมให้ขับรถแซงรถคันอื่นก็สามารถขับแซงได้ เช่น ในกรณีที่ทางเดินรถด้านซ้ายมีสิ่งกีดขวาง หรือในระยะ 150 เมตร จากทางร่วมทางแยก หรือแซงด้านซ้ายในขณะที่มีรถรอเลี้ยวขวา หรือบนพื้นทางที่มีเครื่องหมายจราจรอนุญาตให้แซงได้
- การขับรถแซงคันหน้าต้องแซงด้านขวามือ ยกเว้นกรณีที่เมื่อรถที่จะถูกแซงกำลังเลี้ยวขวา หรือให้สัญญาณว่าจะเลี้ยวขวา ผู้ขับขี่จึงสามารถแซงด้านซ้ายมือได้
- ห้ามมิให้ผู้ขับขี่รถแซงเพื่อขึ้นหน้ารถคันอื่นขณะที่มีหมอก ฝุ่น ฝน หรือควันจนไม่อาจเห็นทางข้างหน้าได้ในระยะ 60 เมตร
- การจอดรถต้องจอดให้ห่างจากขอบทางไม่เกิน 25 เซนติเมตร